ตะแกรงเหล็กฉีกคืออะไร เลือกใช้อย่างไรในงานก่อสร้างและตกแต่ง
ตะแกรงเหล็กฉีก (Expanded Metal Mesh) คือแผ่นเหล็กที่ถูกนำมา “ฉีก” และ “ยืด” ให้เป็นลวดลายตาข่าย โดยไม่ผ่านการเชื่อมหรือการเจาะรู ทำให้เกิดลวดลายที่เป็นช่องตาข่ายรูปข้าวหลามตัดต่อเนื่องกันทั่วทั้งแผ่น
การเลือกใช้ ตะแกรงเหล็กฉีกในงานก่อสร้าง
ควรพิจารณาตามลักษณะของงาน ความแข็งแรงที่ต้องการ และคุณสมบัติของวัสดุเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและปลอดภัย โดยมีแนวทางดังนี้
1. พิจารณาประเภทของงานก่อสร้าง
● งานฉาบปูน (เช่น ผนังโค้ง ผนังเบา ฝ้าเพดาน)
-
ใช้ ตะแกรงเหล็กฉีกแบบบาง (เช่น รุ่น XS หรือ XG)
-
ความหนาประมาณ 0.5 – 1.2 มม.
-
ช่วยยึดเกาะปูนปั้นได้ดี ป้องกันการแตกร้าว
● งานเทปูนพื้นหรือรองรับน้ำหนักเบา
-
ใช้ตะแกรงขนาดกลาง (เช่น รุ่น XM)
-
ความหนาประมาณ 1.2 – 2.3 มม.
-
ช่วยเสริมแรงให้ปูน เพิ่มความแข็งแรง
● งานโครงสร้าง เช่น พื้นเหล็ก ทางเดิน หรือขั้นบันได
-
ใช้ตะแกรงแบบหนา (เช่น รุ่น XL หรือ XG หนาพิเศษ)
-
ความหนา 3 มม. ขึ้นไป
-
ทนแรงกดได้ดี เหมาะกับงานที่ต้องรับน้ำหนักมาก
2. ขนาดช่อง (ข้าวหลามตัด)
-
ช่องเล็ก (ประมาณ 10×25 มม.) – เหมาะสำหรับงานฉาบปูน
-
ช่องกลาง (ประมาณ 20×40 มม.) – ใช้ทั่วไปในงานตกแต่งหรือทางเดิน
-
ช่องใหญ่ (มากกว่า 30×60 มม.) – สำหรับงานที่ต้องการระบายอากาศหรือมองทะลุ
3. วัสดุของตะแกรง
-
เหล็กกล้าชุบสังกะสี: ป้องกันสนิม เหมาะกับงานภายนอกหรือที่มีความชื้น
-
เหล็กดำ: ราคาถูก เหมาะกับงานภายในหรือชุบสีกันสนิมเพิ่มเอง
-
สแตนเลส: ไม่เป็นสนิมเลย เหมาะกับงานตกแต่งหรือพื้นที่อาหาร/สารเคมี
การเลือกใช้ ตะแกรงเหล็กฉีกในงานตกแต่ง
เน้นความสวยงาม ควบคู่กับฟังก์ชัน เช่น การระบายอากาศ การพรางสายตา และความโปร่งโล่ง โดยควรคำนึงถึง ดีไซน์ ความหนา วัสดุ และการป้องกันสนิม ดังนี้
เลือกขนาดช่องลายตาข่าย
-
ช่องเล็ก (5×10 – 10×25 มม.): ดูละเอียด สวยเรียบ เหมาะกับงานภายใน
-
ช่องกลาง (15×30 – 20×40 มม.): นิยมในงานผนัง ฝ้า กันแดด
-
ช่องใหญ่ (25×50 มม. ขึ้นไป): โปร่ง เน้นความดิบ industrial style หรือ facade
การตกแต่งเพิ่มเติม
-
พ่นสีฝุ่น (Powder Coating): ได้สีสันหลากหลาย ทนทาน
-
อบสี/พ่นสี Epoxy: ใช้ในงานภายใน สีเรียบเนียน
-
ตัดพับ ดัดโค้ง: สร้างมิติให้กับงานได้ตามดีไซน์
SPEC ตะแกรงเหล็กฉีกที่ใช้ในปัจจุบัน
สเปกของ ตะแกรงเหล็กฉีก ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลากหลายขนาดและรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น งานก่อสร้าง งานตกแต่ง งานโครงสร้าง หรืออุตสาหกรรมทั่วไป โดยสามารถจำแนกได้ตาม รุ่น ความหนา น้ำหนัก ขนาดช่องลาย และวัสดุ ดังนี้
อัปเดต 07/22/2024 23:32:39 PM